SUSE Cloud with Dell “Crowbar”?
Crowbar ชื่อผลิตภัณฑ์บนระบบคลาวด์ storage ของ Dell สำหรับไว้เชื่อมกับซอฟต์แวร์ SUSE Cloud ของ SUSE พูดง่ายๆ เซิร์ฟเวอร์พร้อมใช้ ที่มีฟีเจอร์ระบบจัดการกลุ่มเมฆ ติดตั้งภายใน 2 ชั่วโมงเสร็จ
ข้อแตกต่างระหว่าง Images vs Layers

ฟีเจอร์
– เข้าถึงการจัดการคอนฟิก Hardware (BIOS, BAID)

– รองรับระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น Red Hat, SUSE, Ubuntu

– รองรับการอินทิเกรตกับแพลตฟอร์มคลาวด์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น Hadoop หรือระบบ monitoring เช่น Nagios
– แอพพลิเคชั่นสำหรับบริการจัดการระบบคลาวด์

SUSE Cloud ชื่อผลิตภัณฑ์สร้างระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ Cloud Service Providers (CSP) ไว้ให้บริการ IaaS, PaaS และ SaaS
หรือสร้างระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) ในองค์กร Personal Private Cloud
เมื่อมีระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆแล้ว ผู้ให้บริการก็พร้อมที่จะให้บริการ IasS แก่ลูกค้าเพื่อติดตั้ง Virtual Server หรือบริการอื่น (PaaS, SaaS)
ตัวอย่าง vendor ที่จำหน่ายเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม Virtualization เช่น
– VMware vSphere
– Microsoft HyperV
– Citrix XenServer
– Xen and KVM from SUSE
– Parallels Virtual Containers
– IBM zVM
SUSE Cloud และ Dell Crowbar ล้วนอยู่บนพื้นฐาน OpenStack เมื่อสองอย่างมารวมกันทำให้เกิด solutions ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆอย่างสมบูรณ์แบบครับ
นอกจาก SUSE มีผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างและบริหารจัดการระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆแล้ว ผลิตภัณฑ์ดิสโทร SUSE Linux Enterprise Server ยังสามารถรันบนแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานของ Windows Azure และ Amazon Web Services
สถาปัตยกรรม SUSE Cloud
– สถาปัตยกรรม SUSE Cloud ทำงานบนพื้นฐาน OpenStack Essex

ขั้นตอนการติดตั้ง SUSE Cloud
– ติดตั้ง SUSE Linux Enterprise Server 11 SP2
– ติดตั้ง Add-On “SUSE Cloud” Product ในหน้าต่าง Installatin Mode จะขึ้นให้เลือก Include Add-On products from Separate Media เช่น DVD หรือ USB stick
– ซอฟต์แวร์ Crowbar (Web interfac) ต้องเลือกติดตั้งที่พาทไดร์เรกทอรี “/opt”
– ซอฟต์แวร์ SUSE Cloud แนะนำให้สร้างพาร์ติชัน “/srv./srv” สำหรับติดตั้ง (ขนาดพื้นที่ว่างอย่างน้อย 25 GB)
ดาวน์โหลด SUSE Cloud Book
แต่ถ้าแพลตฟอร์ม Virtualization ต่างประเทศนิยม ทั้งฟรีจริงๆ และเสถียร ก็อย่างเช่น OpenVZ
OpenVZ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลซ์เซชั่นที่มีวิธีการแตกต่างจากค่ายอื่นๆ อย่างเช่น Xen หรือ VMware (อ่าน introduction virtualization)
คือ OpenVZ ได้รับการออกแบบทำงานแบบระบบปฏิบัติการเสมือนจริงบน OS-level ที่ต้องการแยกรันแอพพลิเคชั่นและความปลอดภัย หรือการทำสำเนาจากระบบปฏิบัติการที่เหมือนกัน แต่ดิสโทรต่างกัน
เช่น ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ แต่ดิสโทรเป็น CentOS และ Ubuntu หรือ openSUSE เป็นต้น
ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลซ์เซชั่นที่ทำงานในระดับ OS-level
– Virtuozzo
– Linux-VServer
– Solaris Zones
และ FreeBSD Jails
ซึ่งสถาปัตยกรรมการทำระบบเวอร์ชวลไลซ์เซชั่น ถ้าเป็นเทคนิคแบบ Para-virtualization กระบวนการนี้จะสามารถรัน guest OS ที่แตกต่างจากบนเซิร์ฟเวอร์หลักได้ และเข้าถึงกายภาพของฮาร์ดแวร์หลักได้
(Physical Hardware) ซึ่งต่างจาก Full virtualization ที่แยกกายภาพของฮาร์ดแวร์หลักออก ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้ เช่น Xen
ประสิทธิภาพดีจริง แต่ไม่สามารถรองรับบางระบบปฏิบัติการ เพราะ guest OS ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขระบบปฏิบัติการเดิม
แต่ถ้าเป็นเทคนิคการทำแบบ Full virtualization การทำงานจะแยกสภาวะแวดล้อมของระบบออกจากฮาร์ดแวร์หลักอย่างสมบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้
เช่น VMware, VirtualBox, QEMU, Parallels และ Microsoft Virtual Server
ในต่างประเทศล้วนใช้ OpenVZ สำหรับให้บริการ VPS บน Cloud computing